วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 5 อภิปราย สรุปผล และข้อเสนอแนะ

                              บทที่ 5
                
                 อภิปราย สรุปผล และข้อเสนอแนะ

สรุปผลและอภิปรายผล
ผลการศึกษาการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล พบว่า กระดาษเหลือใช้สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆได้ตามต้องการ เช่น โคมไฟ แจกัน และอื่นๆอีกมากมาย

ประโยชน์ที่ได้รับ
มีทักษะในการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล
มีความรู้และเห็นคุณค่าของกระดาษรีไซเคิล
มีความคิดสร้างสรรค์และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
มีความสามัคคีในหมู่คณะ
สามารถสร้างงานสร้างรายได้ในระหว่างเรียน
สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจได้
ช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการเผาขยะ

ข้อเสนอแนะ
กระดาษรีไซเคิล สามารถประดิษฐ์ชิ้นได้อีกมากมายหลายประเภท ซึ่งควรทำสิ่งประดิษฐ์และชิ้นงานที่หลากหลาย เพิ่มสีสันด้วยการใช้สีเพื่อให้ชิ้นงานมีความสวยงามยิ่งขึ้น และ ควรศึกษาตลาดเพิ่มเติมเพื่อจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย

เอกสารอ้างอิง
วลีรัตน์ ศรีสวัสดิ์. การประดิษฐ์กระเป๋าผ้าสักหลาดและของจิปาถะที่ทำจากด้ายดิบ. หจก.ซี.อาร์.เอส ยูนิเวอร์แซล
(1986)
วลีรัตน์ ศรีสวัสดิ์. เครื่องประดับจากหินนำโชค. หจก. เพชรกระรัตสติวดิโอ
กรองทอง ปลาบู่ทอง. การประดิษฐ์ต้นไม้มงคลจากลูกปัด. หจก.ซี.อาร์.เอส.ยูมิเวอร์-แวล(1986htt//
htt//www.webindex.samook.com
htt// http://www.easyplan98.com
htt// http://www.nmm.ac.th/www/2005/5003/405.html-15k-

htt// http://www.nontananpermkun.igetweb.com

บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

                        บทที่ 4

                 ผลการดำเนินงาน
           จากการศึกษาและการทำโครงงานทำให้ทราบวิธีการศึกษาและเข้าใจการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของกระดาษที่มีอยู่ในบ้าน ชุมชนและโรงเรียน มีเจตคติที่ดีต่อ การเรียนในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างงานสร้างรายได้ และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สิ่งประดิษฐ์จากกระดาษรีไซเคิลสามารถใช้งานได้และสามารถทดแทนวัสดุที่มีราคาแพงกว่าได้ เช่น พลาสติก ไม้ ซึ่งชิ้นงานที่ได้มีความคงทนแข็งแรง สวยงาม ไม่แตกต่างๆกัน

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการและอุปกรณ์

                     บทที่ 3
        วิธีการดำเนินการและอุปกรณ์
เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
วัสดุ-อุปกรณ์
1. กระดาษรีไซเคิล
2. กรรไกร
3. กาวลาเท็กซ์ กาวแห้งเร็ว
4. ด้าย
5. หลอดขาลูกโป่ง
6. ลูกปัด
7. กระดาษสา
8. ชุดหลอดไส้
9. สายไฟ ( VFF 2 × 0.5 มม. )
10. สวิทช์ทางเดียว

การทำโคมไฟจากกระดาษ
1. ออกแบบโคมไฟ
2. นำกระดาษรีไซเคิลมาม้วนด้วยหลอดขาลูกโป่ง
3. นำกล่องกระดาษเก่ามาตัดเป็นแบบ
4. นำหลอดที่ม้วนได้มาประกอบโคมไฟตามแบบที่กำหนด
5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นงาน
6. นำชุดหลอดไส้มาใส่ในตัวโคม
7. ติดตั้งสวิทช์ไฟ
8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการต่อวงจรชุดหลอดไส้และสวิทช์
9. ทดลองใช้งานและปรับปรุงพัฒนา
10. ประเมินราคาเพื่อจำหน่าย

การทำม่านลูกปัด
1. ตัดกระดาษตามแบบที่กำหนดแล้วม้วนจากฐานสามเหลี่ยมเข้าไป
2. ทาด้วยกาว
3. นำมาร้อยโดยร้อยสลับกับลูกปัด
4. สอดสลับอย่างละ 20-23 เม็ด
5. พันด้ายกับแกนบนแล้วติดด้วยกาว

หมายเหตุ นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สายคล้องโทรศัพท์ และอื่นๆอีกมากมาย

บทที่ 3 วิธีการดำเนินการและอุปกรณ์

                     บทที่ 3
        วิธีการดำเนินการและอุปกรณ์
เตรียมวัสดุ-อุปกรณ์
วัสดุ-อุปกรณ์
1. กระดาษรีไซเคิล
2. กรรไกร
3. กาวลาเท็กซ์ กาวแห้งเร็ว
4. ด้าย
5. หลอดขาลูกโป่ง
6. ลูกปัด
7. กระดาษสา
8. ชุดหลอดไส้
9. สายไฟ ( VFF 2 × 0.5 มม. )
10. สวิทช์ทางเดียว

การทำโคมไฟจากกระดาษ
1. ออกแบบโคมไฟ
2. นำกระดาษรีไซเคิลมาม้วนด้วยหลอดขาลูกโป่ง
3. นำกล่องกระดาษเก่ามาตัดเป็นแบบ
4. นำหลอดที่ม้วนได้มาประกอบโคมไฟตามแบบที่กำหนด
5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นงาน
6. นำชุดหลอดไส้มาใส่ในตัวโคม
7. ติดตั้งสวิทช์ไฟ
8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการต่อวงจรชุดหลอดไส้และสวิทช์
9. ทดลองใช้งานและปรับปรุงพัฒนา
10. ประเมินราคาเพื่อจำหน่าย

การทำม่านลูกปัด
1. ตัดกระดาษตามแบบที่กำหนดแล้วม้วนจากฐานสามเหลี่ยมเข้าไป
2. ทาด้วยกาว
3. นำมาร้อยโดยร้อยสลับกับลูกปัด
4. สอดสลับอย่างละ 20-23 เม็ด
5. พันด้ายกับแกนบนแล้วติดด้วยกาว

หมายเหตุ นอกจากนี้ยังสามารถทำเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ สายคล้องโทรศัพท์ และอื่นๆอีกมากมาย

บทที่ 1 บทนำ

                           บทที่  1
                           
                            บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิลในรูปแบบที่หลากหลายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งก็เป็นภูมิปัญญาไทยในการแปรสภาพของกระดาษให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆโดยการนำเอากระดาษมาประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้ต่างๆอย่างเช่น แจกัน ม่านหน้าต่างประตู สามารถนำไปใช้ประโยชน์และสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาและเข้าใจการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล
2. เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของกระดาษรีไชเคิลที่มีอยู่ในบ้าน ชุมชนและโรงเรียน
3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
4. เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ระหว่างเรียน
6. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ระยะเวลาในการศึกษา

4 พฤศจิกายน 2556-

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยงข้อง


                      บทที่ 2
                   
                     เอกสารที่เกี่ยวข้อง

           รีไซเคิล (Recycle) เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะเป็นขยะ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีก ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ รีไซเคิลมีความหมายต่างจาก รียูส (Reuse) ซึ่งหมายถึง การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพใดๆทั้งสิ้น
ในความเข้าใจของคนบางกลุ่มนั้น การรีไซเคิลยังหมายถึง การนำวัสดุเหลือใช้กลับมาปรับเปลี่ยนรูปแบบ หรือพัฒนารูปร่างใหม่ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ขวดน้ำพลาสติก หากนำมาใช้ใส่น้ำอีกครั้งเป็น การรียูส์ (reuse) แต่ถ้านำเอาขวดนำพลาสติกมาตัดให้เป็นกระป๋อง แล้วนำไปใช้ตัดดินบรรจุในถุง หรือนำขวดพลาสติดมาตัดครึ่ง เป็นแจกันใส่ดอกไม้ หรือเป็นที่ใส่ปากกา มักถูกเรียกว่าเป็นการรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติก
ปัญหาใหญ่ของขยะประเภทหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ในรูปกระดาษที่ผลิต ออกมาเป็นจำนวนมากและในจำนวน ที่ผลิตออกมาอย่างมหาศาลนี้มีเพียง ไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ที่ได้มีการนำกระดาษที่ใช้แล้วไป ทำผลิตภัณฑ์ใหม่อีกครั้ง จำนวนที่เหลือจึงกลายเป็นขยะอยู่ในแหล่ง ทิ้งขยะ ในปีหนึ่ง ๆ ปรากฎว่าด้วยจำนวนนับล้าน ๆ ของใบปลิวโฆษณาทางไปรษณีย์ คูปอง ใบขอบริจาค แคตตาล็อกต่าง ๆ และหน้าโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ จะมีเพียงประมาณนับพันแผ่นเท่านั้นที่ได้ผ่านการอ่านและที่เหลือนอกจากนั้นได้กลายเป็นขยะในถังขยะโดยไม่ผ่านการอ่านเลย จึงเป็นการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองที่สุด
กระดาษทุกชนิดที่เราใช้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ผลิตจากเนื้อเยื่อของต้นไม้และมีกระดาษหลายชนิดที่เมื่อใช้แล้วสามารถนำมาผลิตใช้ได้อีก เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษบันทึก กระดาษสำเนา กระดาษพิมพ์ดีด กระดาษคอมพิวเตอร์ บัตรรายการ และซองจดหมายสีขาว สำหรับกระดาษที่ไม่
สามารถนำหลับมาผลิตใหม่ เช่น กระดาษที่ติดกาวหรืออาบมัน เนื่องจากความร้อนจะทำให้สารเคลือบกระดาษละลายแล้วไปอุดตันเครื่องจักรทำให้เกิดความเสียหายได้
การรีไซเคิล กระดาษเริ่มต้นด้วยกระบวนการใช้น้ำและสารเคมีกำจัดหมึกที่ปนเปื้อนออกไป ทำให้กระดาษษเหล่านั้นกลายเป็นเนื้อเยื่อ จากนั้นจึงทำความสะอาดเนื้อเยื่อ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตเส้นใยที่สามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษต่อไป

          กระดาษที่ใช้แล้วเมื่อนำมาผลิตขึ้นใช้ใหม่มีกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนโดยเฉพาะ จะต้องกำจัดสีที่ปนเปื้อนออกให้หมดเพราะการเจือปนแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้กระดาษที่ผลิตใหม่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไฟเบอร์ในเนื้อเยื่อกระดาษจะลดน้อยลงทุกขึ้นตอนของกระบวนการรีไซเคิล กระดาษที่ผลิตขึ้นใหม่จึงมีคุณภาพด้อยลง มีเพียงร้อยละ 3 เปอร์เซ็นต์ของกระดาษหนังสือพิมพ์เท่านั้นที่สามารถนำไปผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ได้ใหม่ กระดาษรีไซเคิลส่วนใหญ่จึงเหมาะสำหรับทำเป็นกล่องบรรจุสินค้าทำเป็นฝ้าเพดานหรือฉนวนกันความร้อน
กระดาษรีไซเคิลหมายถึง กระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาใหม่โดยการนำกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ กระดาษสำนักงาน หนังสือทั่วไป นำกลับมารีไซเคิลใหม่ที่มีลวดลายธรรมชาติที่เกิดในเนื้อของกระดาษเองอาจย้อมสีเคลือบด้วยสารเคลือบเงาและตกแต่งให้เป็นลวดลายต่างๆโดยใช้วัสดุอื่น เช่น ขี้เลื้อย ดอกไม้แห้งด้วยก็ได้

ประเภทของกระดาษ
             การเรียกชื่อกระดาษในภาษาไทย จะเป็นคำนามรวมสำหรับวัสดุที่ผลิตจากเยื่อหรือเส้นใยของพืช อันที่จริงศัพท์เทคนิคที่ใช้เรียกวัสดุนี้มีหลายคำ ซึ่งแบ่งตามความหนาหรือความแข็งแรง
Paper หมายถึง วัสดุที่ได้จากการสานอัดแน่นของเส้นใยจากพืชจนเป็นแผ่นบาง โดยทั่วไปมีความหนาไม่เกิน 0.012 นิ้ว หรือน้ำหนักมาตรฐาน (Basis Weight) ไม่เกิน 225 กรัมต่อตารางเมตร
Paperboard หมายถึง กระดาษแข็ง มีความหนามากกว่า 0.012 นิ้ว
Solid Fiberboard หมายถึง กระดาษที่ได้จาก Paperboard หลาย ๆ ชั้นประกบติดกัน และมีความแข็งแรงกว่า Paperboard
Corrugated Fiberboard หมายถึง กระดาษลูกฟูก ได้จาก Paperboard หลายชั้น ประกอบด้วยกระดาษผิวหน้า (Liner) และลอนลูกฟูก (Corrugated Medium) เรียงประกบติดสลับชั้นกัน

การแบ่งประเภทกระดาษตามลักษณะการใช้งาน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) หรือกระดาษเหนียว หมายถึง กระดาษที่ผลิตจากเยื่อซัลเฟตหรือเยื่อคราฟท์ล้วน ๆ หรือต้องมีเยื่อคราฟท์อย่างน้อยร้อยละ 80 กระดาษคราฟท์ที่ใช้งานทั่วไปมีทั้งประเภทไม่ฟอกสี ( กระดาษสีน้ำตาล ) สำหรับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรงสูง และกระดาษคราฟท์ฟอกสีเพื่อความสวยงาม หรือเพื่อผลิตเป็นกระดาษสีสันต่าง ๆ นิยมใช้กระดาษ - เหนียวทำถุงเพื่อการขนส่ง และห่อผลิตภัณฑ์ทั่วไป
2. กระดาษเหนียวชนิดยืด (Stretchable Paper) หมายถึง กระดาษเหนียวที่ปรับปรุงให้สามารถยืดตัวได้มากกว่าปกติ จึงสามารถทนทานแรงดึงได้สูงกว่ากระดาษเหนียวธรรมดา นิยมใช้ทำถุงเพื่อการขนส่ง
3. กระดาษแข็งแรงขณะเปียก (Wet Strength Paper) หมายถึง กระดาษเหนียวที่เติมเมลา - มีนฟอร์มอลดีไฮด์ (Melamine Formaldehyde) หรือยูเรียฟอร์มอลดีไฮด์ (Urea Formaldehyde) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กระดาษแม้ขณะเปียก นิยมให้ห่อผลิตภัณฑ์ที่มีความชื้นสูง และใช้ทำถุงเพื่อการขนส่งที่มีโอกาสเปียกน้ำสูง
5. กระดาษกันไขมัน (Greaseproof Paper) เป็นกระดาษที่ผลิตจากเยื่อที่ผ่านการตีป่นเป็นเวลานานจนเส้นใยกระจาย และบวมน้ำมากเป็นพิเศษ ทำให้กระดาษมีความหนาแน่นสูง จึงป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดี นิยมใช้ห่อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีไขมันสูง และชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีน้ำมันเคลือบกันสนิม
6. กระดาษกลาซีน (Glassine) ทำจากกระดาษกันไขมันที่ผ่านการรีดเรียบร้อยด้วยลูกกลิ้งภายใต้อุณหภูมิสูง ๆ ขณะกระดาษเปียกชื้น ทำให้ความหนาแน่นของกระดาษเพิ่มขึ้น และยังมีการขัดผิว ทำให้กระดาษกลาซีนมีเนื้อแน่นและผิวเรียบมันวาว นิยมใช้ห่อผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันสูง
7. กระดาษทิชชู (Tissue Paper) หมายถึง กระดาษที่มีความนุ่มและบางเป็นพิเศษน้ำหนักมาตรฐานประมาณ 17 – 30 กรัมต่อตารางเมตร นิยมใช้ห่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันรอยขูดขีดผิว ห่อของขวัญ หรือห่อผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเป็นการช่วยเสริมความสวยงามและความพิถีพิถัน เช่น น้ำหอม นาฬิกา และเครื่องประดับ เป็นต้น
8. กระดาษพาร์ชเมนต์ (Parchment Paper) เป็นกระดาษที่ผ่านกระบวนการผลิตพิเศษ โดยการจุ่มกระดาษในกรดซัลฟิวริกเข้มข้นเป็นเวลาสั้น ๆ แล้วนำไปล้างและทำให้เป็นกลางก่อนจะนำไปอบรีดให้แห้ง กระดาษนี้จะมีคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้เป็นอย่างดี นิยมใช้บรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร
กระดาษลูกฟูก

กระดาษลูกฟูกมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1. กระดาษผิวหน้า (Liner) เป็นกระดาษที่ติดบนกระดาษลอนลูกฟูก จะใช้กระดาษคราฟท์ไม่ฟอกสีสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรงสูง นอกจากนี้อาจใช้กระดาษที่ผลิตจากเยื่อกระดาษเก่าสำหรับงานทั่วไป
2. กระดาษลอนลูกฟูก (Corrugated Medium) ใช้กระดาษที่ผลิตจากเยื่อคราฟท์ เยื่อฟางข้าว หรือเยื่อกระดาษเก่า ขึ้นกับความแข็งแรงที่ต้องการนำมาขึ้นลอน กระดาษลอนลูกฟูกนี้สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ตามขนาดของลอน

ประโยชน์ของกระดาษรีไซเคิล
1 ชิ้นงานราคาถูกกว่าที่ซื้อตามห้างหรือร้านค้า
2 เป็นวัสดุเหลือใช้ที่จัดหาได้ง่าย
3 ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
4 ไม่ต้องซื้อชิ้นงานและสามารถทำขึ้นใช้เองได้
5 ทำให้เห็นคุณค่าของกระดาษรีไซเคิล
6 ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและชิ้นงานที่จัดสร้างขึ้น
7 เพื่อเป็นการลดภาวะโลกร้อนและสนับสนุนให้คนในท้องถิ่นช่วยตัวเองในการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เค้าโครง เรื่อง การประดิษฐ์ชิ้นงานจากกระดาษรีไซเคิล

โครงงาน เรื่อง การประดิษฐ์ชิ้นงานจากกระดาษรีไซเคิล จัดทำโดย นางสาวมณีรัตน์ เกตุแก้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ครูที่ปรึกษา คุณครูธนดล คำเสมอ ระยะเวลาในการศึกษา 4 พฤศจิกายน 2556- ที่มาและความสำคัญของโครงงาน นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิลในรูปแบบที่หลากหลายที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งก็เป็นภูมิปัญญาไทยในการแปรสภาพของกระดาษให้ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆโดยการนำเอากระดาษมาประดิษฐ์สิ่งของเหลือใช้ต่างๆอย่างเช่น แจกัน ม่านหน้าต่างประตู สามารถนำไปใช้ประโยชน์และสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษาและเข้าใจการประดิษฐ์สิ่งของจากกระดาษรีไซเคิล 2. เพื่อให้มีความตระหนักและเห็นคุณค่าของกระดาษรีไชเคิลที่มีอยู่ในบ้าน ชุมชนและโรงเรียน 3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4. เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5. เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ระหว่างเรียน 6. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ วิธีการดำเนินงาน การทำโคมไฟจากกระดาษ 1. ออกแบบโคมไฟ 2. นำกระดาษรีไซเคิลมาม้วนด้วยหลอดขาลูกโป่ง 3. นำกล่องกระดาษเก่ามาตัดเป็นแบบ 4. นำหลอดที่ม้วนได้มาประกอบโคมไฟตามแบบที่กำหนด 5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นงาน 6. นำชุดหลอดไส้มาใส่ในตัวโคม 7. ติดตั้งสวิทช์ไฟ 8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของการต่อวงจรชุดหลอดไส้และสวิทช์ 9. ทดลองใช้งานและปรับปรุงพัฒนา 10. ประเมินราคาเพื่อจำหน่าย การทำม่านลูกปัด 1. ตัดกระดาษตามแบบที่กำหนดแล้วม้วนจากฐานสามเหลี่ยมเข้าไป 2. ทาด้วยกาว 3. นำมาร้อยโดยร้อยสลับกับลูกปัด 4. สอดสลับอย่างละ 20-23 เม็ด 5. พันด้ายกับแกนบนแล้วติดด้วยกาว ประโยชน์ที่ได้รับ 1.มีทักษะในการประดิษฐ์สิ่งของจากหลอดกาแฟ 2.มีความรู้และเห็นคุณค่าจากหลอดกาแฟ 3.มีความสามัคคีในหมู่คณะ 4.สามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียน 5.ส่วยลดภาวะโลกร้อนจากการเผาขยะ 6.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน